วันที่ Raspberry Pi สยายปีกลงในตลาด Microcontroller กับน้องใหม่ Raspberry Pi PICO

เป็นเวลากว่า 6 ที่ Raspberry Pi เข้ามาเป็น Single board Computer ในดวงใจของบรรดา Maker และผู้ใช้งานทั่วไป ซึ่งด้วยความที่เป็นบอร์ดที่ทำงานบนระบบปฎิบัติการคอมพิวเตอร์ยังต้องใช้เวลาในการบูตระบบ และการทำงานแบบ realtime ต่างๆยังทำไม่ได้เหมือนบนบอร์ด Microcontroller ทำให้บางครั้งยังต้องใช้ร่วมกับบอร์ด Microcontroller เช่น Arduino หรือ Microbit อยู่ดี 

ในที่สุด Raspberry Pi Foundation ก็ได้เปิดตัวบอร์ด Microcontroller ของตัวเองออกมาในที่สุดกับบอร์ด Raspberry Pi Pico ซึ่งออกแบบใหม่หมดจดจากทาง Raspberry Pi Foundation ซึ่งบอร์ดนี้จะหน้าตาเป็นเช่นไร คุณสมบัติเป็นอย่างไรบ้างมาลองอ่านกันดูครับ

บอร์ด Raspberry Pi Pico น้องใหม่

คุณสมบัติ

– MCU ตัวใหม่ RP2040 พร้อม  flash ขนาด 2MByte 

ซึ่งจริงๆตัวนี้เป็น ARM Dual-core cortex M0+ ที่สัญญาณนาฬิกา 133MHz
พร้อม SRAM ขนาด 264K  

– Micro-USB B port สำหรับจ่ายไฟและโปรแกรม

– ขาใช้งานจำนวน 40 ขา

2×SPI, 2×I2C, 2×UART, 3×12-bit ADC, 16×controllable PWM

– ขา GPIO ใช้งานได้ถึง 26 ขาแบบกำหนดค่าการใช้งานได้ทำงานที่แรงดัน 3.3 V

– ขา ADC จำนวน 3 ขา

– ขา SWD  สำหรับ debug

– upload โปรแกรมได้ง่ายด้วยการ Drag&Drop

– ราคาประหยัดประมาณ 4$

Pinout diagram ของ Raspberry Pico

ภาษาที่ใช้ในการพัฒนา

Raspberry Pi Pico มาพร้อมกับความพร้อมในการเขียนโปรแกรม โดยมีทางเลือกในการพัฒนาได้ 2 ภาษาคือ 

1) ภาษา C/C++ ซึ่งมาพร้อม SDK ขนาด 235 หน้าเด็กๆ อาจข้ามหัวข้อนี้ไปได้เลย สำหรับการใช้งานบน Arduino น่าจะตามมาเร็วๆนี้

2) ภาษา MicroPython โดยสามารถ git มาติดตั้งได้จาก github.com:raspberrypi/micropython.git สามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ทั่วไปหรือใช้งานบน Raspberry Pi OS ได้ทันที

สามารถอ่านรายละเอียดในการพัฒนาทั้งหมดได้ที่ https://www.raspberrypi.org/documentation/pico/getting-started

การใช้งาน Pico ร่วมกับบอร์ด Raspberry Pi

อยากได้ทำไง

ก็สามารถหาซื้อได้ตามร้านที่จำหน่าย Raspberry Pi ทั่วไปได้เลยครับ
เช่น
ที่ Cytron ซึ่งมีจำหน่ายทั้งรุ่นไม่ไ่ด้บัดกรีขา
1) https://www.cytron.io/p-rpi-pico-b
และรุ่นบัดกรีขามาแล้ว
2) https://www.cytron.io/p-rpi-pico-sh

ความเห็นของผู้เขียนส่วนตัวก็คิดว่าเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของ Arduino เลย แต่การใช้งานยังขาดเรื่อง connectivity อยู่ซึ่งในอนาคตน่าจะมี expansion board มาช่วยในส่วนนี้ในอนาคต เพราะ Spec ของ MCU โหดอยู่น่าใช้มาก เพราะพัฒนามาพิเศษสำหรับ Raspberry Pi Foundation เลยน่าจะมีพวกข้อมูลและตัวอย่างการใช้งานต่างๆตามออกมาอีกมากมายตามสไตล์ Raspberry Pi ครับ 

แนะนำให้ลองหามาทดลองเล่นกันดูเพราะยังไงการเขียนโปรแกรมได้ก็เป็นอนาคตที่ดีของบุตรหลานเราแน่นอน

Leave a Comment